6 โรคฤดูร้อนที่ควรระวัง

โรคอุจจาระร่วง

        • สาเหตุ : ส่วนใหญ่มาจากการได้รับเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อที่ปนเปื้อนมาในอาหารและน้ำดื่ม เป็นเหตุให้ถ่ายอุจจาระบ่อยๆ
        • อาการ : ถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ อย่างน้อย 3 ครั้ง หรือถ่ายปนมูกเลือดภายใน 24 ชม. และอาจมีอาเจียน หรือขาดน้ำร่วมด้วย
        • การป้องกัน : รับประทานอาหารที่ปรุงสุกถูกสุขลักษณะ และล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ

        โรคอาหารเป็นพิษ

          • สาเหตุ :  เกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีสิ่งปนเปื้อน ได้แก่ สารพิษหรือท็อกซิน ที่แบคทีเรียสร้างไว้ในอาหาร สารเคมีต่างๆ ซึ่งพบในพืชและสัตว์ รวมทั้งกลุ่มเชื้อโรคที่มีการสร้างสารพิษในลำไส้
          • อาการ : มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว ปวดท้อง ท้องเสีย ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่ หากอาการไม่รุนแรงจะหายได้เอง 24-48 ชม.
          • ป้องกัน : รับประทานอาหารที่ปรุงสุกในขณะที่ยังร้อน ปรุงสะอาด

            โรคไข้รากสาดน้อย

                • สาเหตุ : ติดต่อจากการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไทฟอยด์ (เชื้อแบคทีเรีย)
                • อาการ : ไข้สูงลอยมากกว่า1 สัปดาห์ ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูก บางรายอาจมีผื่นขึ้นตามหน้าอกหรือลำตัว
                • ป้องกัน : รับประทานอาหารที่ปรุงสุกถูกสุขลักษณะ และล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ

                โรคอหิวาตกโรค

                  • สาเหตุ : จากการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้ออหิวาตกโรค เช่น อาหารที่มีแมลงวันตอม
                  • อาการ : ถ่ายเหลวเป็นน้ำโดยไม่ปวดท้อง อาจมีอาเจียนร่วมด้วยขาดน้ำและเกลือแร่รุนแรง อาจส่งผลให้เสียชีวิตได้
                  • ป้องกัน : รับประทานอาหารที่ปรุงสุกถูกสุขลักษณะ และล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ
                  โรคไวรัสตับอักเสบเอ
                  • สาเหตุ : จากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ และอาจติดต่อได้หากสัมผัสกับเลือดของผู้ป่วย
                  • อาการ : ไข้อ่อนๆ ปวดศีรษะ เหนื่อยล้า เบื่ออาหาร ปวดท้องขวาบน ท้องผูก ปวดตามกล้ามเนื้อและข้อ ปัสสาวะสีเข้มตาและตัวเหลือง
                    • ป้องกัน : รับประทานอาหารที่ปรุงสุกถูกสุขลักษณะ ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ และกลุ่มเสี่ยงควรฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค

                    โรคลมแดดหรือฮีทสโตรก

                      • สาเหตุ : เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายได้ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นจากการเผชิญกับสภาพอากาศที่มีความร้อนสูง
                      • อาการ : อุณหภูมิร่างกายสูงมากกว่า 40 องศา ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน ตัวร้อน กระหายน้ำ เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นแรง เป็นลม หมดสติ
                        • ป้องกัน : หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในสภาพอากาศที่ร้อนจัดหรือกลางแจ้งเป็นเวลานานๆ ควรดื่มน้ำให้มากเพียงพอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ หากจำเป็นต้องออกไปกลางแจ้งควรปกป้องตนเองจากแสงแดด
                        3 ภัยสุขภาพที่เกิดในช่วงฤดูร้อน

                          • การเจ็บป่วย และเสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน
                          • ผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหาหมอกควัน
                          • การบาดเจ็บและเสียชีวิต จากการจมน้ำ ผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด


                          ช่องทางการติดต่อ