ในระยะแรกร่างกายแทบจะไม่แสดงอาการหรือสัญญาณใด กว่าจะรู้ตัวอาจเข้าสู่ภาวะไตเสื่อมรุนแรง สาเหตุสำคัญของโรคนี้เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารของตนเอง ในส่วนของการเฝ้าระวังยังมีสัญญาณบางอย่างที่บอกได้ว่าไตเริ่มมีปัญหา เพื่อสังเกตตัวเองและทำการรักษาได้ทัน

หยุดพฤติกรรมทำร้ายไต

  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสจัด ไม่ใช่แค่รสเค็มจัด แต่รวมไปถึงอาหารรสหวานจัด เผ็ดจัด หรือแม้กระทั่งมันจัด เนื่องอาหารรสจัดทำให้ไตทำงานหนักขึ้น จึงมีส่วนทำให้เป็นโรคไต
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ 6-8 แก้วต่อวัน
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ทำงานหนักจนเกินไป ไม่เครียด 
  • ลดการทานอาหารสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวกล่องในร้านสะดวกซื้อ อาหารกระป๋อง เพราะจะทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมในปริมาณมากโดยไม่รู้ตัว
  • รับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงและมีอนามัยที่ดีอยู่เสมอ อย่างไรก็ตามหากพบอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้อง

สัญญาณเตือน

  • ปัสสาวะแสบขัด หรือปัสสาวะลำบาก และปัสสาวะในช่วงกลางคืนบ่อยกว่าปกติ
  • ปัสสาวะขุ่นผิดปกติ มีเลือดปนหรือมีฟอง
  • ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคไตมักมีความดันโลหิตที่สูง ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอย 
  • บวมตามตัวและใบหน้า 
  • ปวดหลัง โดยเฉพาะบริเวณบั้นเอวหรือชายโครงด้านหลัง ในเพศชายอาจอวัยวะเพศไม่แข็งตัว

โรคไตในแต่ละประเภทนั้น อาการของผู้ป่วยอาจจะมีลักษณะแตกต่างกัน บางครั้งตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจปัสสาวะ หรือตรวจเลือด จึงทำให้ผู้ป่วยโรคไตจำนวนมากไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคไตเมื่อเกิดความผิดปกติเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะโรคไตบางชนิดหากตรวจพบเร็วสามารถรักษาให้หายได้ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้โรคอาจรุนแรงจนไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้หรืออาจทำให้เพียงชะลอความเสื่อมของไตเท่านั้น ดังนั้นหมั่นคอยสังเกตอาการ และพบแพทย์ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

แพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคไต คลิก : http://www.bangmodhospital.com/in_promotion/67