โพลีฟีนอล
  • ลดการอักเสบ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งบางชนิดพบมากในผลไม้หลายชนิด เช่น องุ่นม่วง ลูกพรุน ลูกหม่อน สตรอว์เบอร์รี แอปเปิล ทับทิม น้อยหน่า ทุเรียน มะเฟือง ลิ้นจี่ ฝรั่ง พบในพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาว ผักใบเขียว เช่น ผักหวาน ผักกระเฉด ผักชีล้อม  ผักสีม่วง เช่น กะหล่ำปลีม่วง
แอนโทไซยานิน
  • ลดคอเลสเตอรอล ชะลอความเสื่อมของเซลล์ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด พบมากในผลไม้สีแดง ม่วง น้ำเงิน เช่น ทับทิม ชมพู่แดง องุ่นม่วง ลูกหม่อน บลูเบอร์รี สตรอว์เบอร์รี พบในผักสีแดง สีม่วง เช่น แรดิชสีแดง มะเขือม่วง มะเขือเทศสีม่วง กะหล่ำปลีม่วง
ไลโคพีน
  • ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งบางชนิดพบในผลไม้บางชนิด เช่น แตงโมสีแดง ส้มโอเนื้อสีแดง ส้ม มะละกอสุก พบในผักบางชนิด เช่น มะเขือเทศ
แคโรทีนอยด์
  • ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งบางชนิด พบมากในผลไม้สีเหลือง สีส้ม เช่น มะม่วงสุก มะละกอสุก ส้ม มะยงชิด แคนตาลูป ผลไม้สีแดง เช่น แตงโม พบมากในผักสีเหลือง สีส้ม เช่น ฟักทอง แครอท พริกหวาน ผักสีเขียวเข้ม เช่น ตำลึง คะน้า ผักกูด บรอกโคลี
วิตามินซี
  • ลดการแข็งตัวของหลอดเลือด ลดความเสี่ยง การเกิดโรคมะเร็งบางชนิดผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง ลิ้นจี่ ทุเรียน เงาะ มะละกอสุก มะม่วงดิบ ส้ม ลำไย  พบมากใน พริกหวาน ผักหวาน ผักเหลียง มะระขี้นก คะน้า กวางตุ้ง กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ บรอกโคลี
วิตามินอี
  • ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคมะเร็งบางชนิด พบมากในถั่วเมล็ดแห้ง ผักสีเขียวเข้ม เช่น ตำลึง คะน้า เป็นต้น