


รูปภาพแผลไหม้ระดับ 1


รูปภาพแผลไหม้ระดับ 2


รูปภาพแผลไหม้ระดับ 3
การปฐมพยาบาล
- ล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดอุณหภูมิปกติ หรือเปิดน้ำให้ไหลผ่าน หรือแช่อวัยวะส่วนที่เป็นแผลลงในน้ำสะอาดประมาณ 15-20 นาที หรือจนกว่าอาการปวดแสบปวดร้อนจะลดลง
- อาจใช้น้ำเกลือที่ปราศจากเชื้อ หรือสบู่อ่อนชะล้างสิ่งสกปรกออกไปก่อน และล้างด้วยน้ำสะอาด
- ใช้ผ้าที่ปราศจากเชื้อซับน้ำให้แห้งทันที
- ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ หรือผ้าแห้งสะอาด
- ถ้ายังมีอาการปวดแสบปวดร้อนหรืออาการเป็นมากขึ้น ผิวหนังมีรอยถลอก มีตุ่มพองใส หรือมีสีของผิวหนังเปลี่ยนไป ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล
ข้อควรทราบ และควรระวัง !
- ห้ามใช้น้ำแข็งหรือน้ำเย็นจัดประคบ เพราะอาจทำให้บาดแผลลึกมากขึ้นได้
- ไม่ควรใช้ยาสีฟันหรือครีมอื่นใดชะโลมบนแผล เพราะอาจทำให้แผลมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น
- ถอดเสื้อผ้า หรือเครื่องประดับต่าง ๆ ออก เพราะแผลไฟไหม้อาจจะบวมขึ้นรวดเร็ว
- การเลือกใช้วัสดุปิดแผลอย่างถูกต้องและการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ จะทำให้บาดแผลหายเร็วขึ้น ดังนั้นควรได้รับการรักษาที่ถูกต้องจากแพทย์โดยเร็ว
- ห้ามถู เกา หรือแกะแผล เพราะจะทำให้บาดแผลอักเสบ และติดเชื้อได้ง่าย
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่นละออง ที่ทำให้บาดเเผลเกิดอาการระคายเคือง
- เมื่อแผลหายดีแล้วต้องระวังไม่ให้ถูกแสงแดด 3-6 เดือน และใช้น้ำมันหรือครีมโลชั่นทาที่ผิวหนัง เพื่อลดอาการแห้งและคัน สำหรับแผลที่หาย โดยใช้เวลามากกว่า 3 สัปดาห์ หรือแผลที่หายหลังจากทำผ่าตัด แนะนำให้ใส่ผ้ายืด เพื่อป้องกันแผลเป็นนูนหนา
อ้างอิง : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล